ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกการเรียนรู้ ของ นีรนุช

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่2
อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device)มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง


   อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่
1.แป้นพิมพ์(Keyboard)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร
2.เมาส์(Mouse)เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
3.แทร็กบอล(Track Ball)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่ แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน
4.จอยสติก(Joy Stick)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง ซ้ายขวา เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้ 
5.เครื่องอ่านบาร์โค๊ต(Bar Code Reader)เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ(Bar Code)ซึ่งประกอบด้วยแถบสีดำและยาว ความกว้างของแถบสีดำตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลข
6.สแกนเนอร์ (Scanner)เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการอ่านหรือสแกน(Scan)ข้อมูลที่ต้องการ  เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูลแล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป 
7.เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง(Optical Character Reader:OCR)เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่างๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็คตัวอักษรบนเอกสารอื่นๆ
8.เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก(Magcnetic Ink Character Reader:MICR)เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์ 
9.ปากกาแสง(Light Pen)เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดนการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ มักใช้ในงานออกแบบ 
10.จอสัมผัส(Touch Screens)เป็นอุปกรณ์สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอเพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM
11.กล้องถ่ายภาพดิจิตอล(Digital Camera)เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ในอุปกรณ์ CCD(Charge Coupled Device)แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์
12.ไมโครโฟน (Microphone)เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรงเสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้






อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง    
หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล  ได้แก่
1.เทปแม่เหล็ก(Magnetic Tape)เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบันลักษณะของเทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูลคล้ายกับเทปแม่เหล็กที่ใช้ในการบันทึกเสียง
2.จานแม่เหล็ก (Magnetic  Disk)เป็นหน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (DASD:Direct Access Storage Device)การบันทึกและการอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็กใช้หลักการเดียวกับเทปแม่เหล็กแต่การเข้าถึงเนื้อที่เก็บข้อมูลนั้นๆ อาศัยตำแหน่งที่ถูกกำหนดโดยระบบปฏิบัติการ
3.จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk: Diskette)เป็นจานแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สร้างจากแผ่นไมลาร์ (Mylar)ฉาบด้วยเหล็กออกไซด์เป็นจานแม่เหล็กแผ่นเดียวและห่อหุ้มด้วยพลาสติก
4.ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)เป็นหน่วยความจำสำรองที่มีหลักการเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กส่วนที่เก็บข้อมูลทำจากแผ่นโลหะ เรียกว่า แพลตเตอร์ (Platters)และฉาบด้วยเหล็กออกไซด์ ส่วนที่เป็นเครื่องอ่านฮาร์ดดิสก์ถูกออกแบบให้เป็นชุดเดียวกันกับส่วนเก็บข้อมูล
5.ซีดีรอม(CD-ROM:Compact Disk Read Only Memory)เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล  โดยใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีเดียวกับซีดีเพลงการบันทึกข้อมูลบน CD-ROM ต้องใช้เครื่องมือพิเศษจากบริษัทผู้ผลิตข้อมูลบน CD-ROM จะถูกเรียงกันเป็นแถวยาวจับเป็นก้นหอย
6.ซีดี-อาร์ (CD-R:CD-Recordable)เป็น CD ที่สามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ เรียกว่า CD-R Driveโดยการติดตั้งไดร์ฟนี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลจากการประมวลผลลงบน CD-R ได้รวมทั้งการอ่านข้อมูลจาก CD-R ได้ด้วย
7.วอร์มซีดี (WORM CD:Write One Read Many CD)เป็น CD ที่บันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียวแต่สามารถอ่านข้อมูลกี่ครั้งก็ได้ความจุตั้งแต่ 600 MB ถึง 3 GB ขึ้นไป ซึ่งเมื่อบันทึกข้อมูลจากเครื่องใดจะต้องใช้เครื่องอ่านรุ่นเดียวกัน 
8.เอ็มโอดิสก์ (MO:Magneto Optical Disk)เป็นจานแม่เหล็กที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็กและเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ร่วมกันทำให้การบันทึกและการอ่านข้อมูลทำได้หลายครั้งเช่นเดียวกับจานแม่เหล็กทั่วไปขนาดของดิสก์ใกล้เคียงกับดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย
9.ดีวีดี (DVD:Digital Versatile Disk)เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูลแผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 GB ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็น 600 KB ต่อวินาที เครื่องอ่านดีวีดีสามารถใช้กับซีดีรอมได้ด้วย 


อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
อุปกรณ์แสดงผล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก  ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ
1.จอภาพ(Monitor)เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น 
2.เครื่องพิมพ์ (Printer)เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ สามารถแบ่งเครื่องพิมพ์ตามวิธีการพิมพ์ได้ 2 ประเภท คือ 1.เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ 2.เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ 
3.เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ โดยการสร้างรูปภาพแบบทางวิศวกรรม ทางสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นภาพขนาดใหญ่ มีรายละเอียดเช่นเดียวกับระบบเคด หรือพิมพ์เขียว
4.เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ที่เกิดจากการ์ดเสียง หน้าที่หลักคือ เมื่อการ์ดเสียงเปลี่ยนสัญญาณเสียงดิจิตอลให้เป็นกระแสไฟฟ้า ผ่านมายังลำโพงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กและเกิดการสั่นสะเทือนของลำโพง มีผลทำให้เกิดเสียงในระดับ

บทที่ 3
ระบบสารสนเทศประกอบไปกี่ส่วน คืออะไรบ้าง
ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลักๆดังนี้
     1.ข้อมูล คือ ทรัพยากรสำคัญซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น ข้อมูลทั่วไป,ข้อความ,ภาพ,เสียง,Tactile data และข้อมูลจากเครื่องรับรู้
     2.การจัดเก็บ คือ ขั้นตอน หรือ วิธีการรักษาไว้ซึ่งข้อมูล
     3.เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล คืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูล 
     4.การประมวลผล
     5.สารสนเทศ คือ ผลผลิตของระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยความถูกต้อง ตรงประเด็น ทันสมัย สมบูรณ์ กะทัดรัด
ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล
ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยแรงงานคน และเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ เนื่องจากปัจจุบันลักษณะการทำงานและชีวิตประจำวันได้ถูกพัฒนาให้มีการใช้หรือบริโภคข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้การประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ มีความสำคัญมากขึ้น เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำในการประมวลผล แต่เนื่องจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันไม่สามารถใช้เครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ได้ตลอดเวลา ดังนั้นหากเป็นการประมวลผลด้วยข้อมูลจำนวนน้อยๆ ง่ายๆ
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้า
     ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 วิธี หรือ 3
ขั้นตอนดังนี้


ขั้นตอนรวบรวมข้อมูล         
ขั้นตอนประมวลผล     
ขั้นตอนแสดงผลลัพธ์
-การลงรหัส
-การตรวจสอบ
-การจำแนก
-การบันทึกข้อมูลลงสื่อ 
-การคำนวณ
-การเรียงลำดับข้อมูล
-การสรุป
-การเปรียบเทียบ

-รูปแบบเอกสาร
-การนำเสนอบนจอภาพ
-ฯลฯ


ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนจะทำงานสอดคล้องกัน เช่น การพิมพ์ข้อมูลลงบนคอมพิวเตอร์ การกดปุ่มบนแป้นพิมพ์จะอยู่ในขั้นตอนรวบรวมข้อมูล ระบบรับข้อมูลที่ถูกพิมพ์ลงไปแจกแจงลักษณะแล้วบันทึกลงหน่วยความจำชั่วคราว หลังจากนั้นหน่วยประมวลผลจะทำการนำข้อมูลประมวลผลไปเปรียบเทียบข้อมูลหลัก เช่น แบบอักษร สี ขนาดแล้วส่งต่อมายังหน้าจอภาพเพื่อเป็นการแสดงผลลัพธ์
หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์
Bit หรือ บิท เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นวงจรเปิดและปิด จึงถูกนำมาเปรียบเทียบกับเลขฐาน 2 เช่นถ้าใช้ 2 บิท จะสื่อได้คือ 00,01,10,11
จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่
จากการมองของผู้ใช้ข้อมูลจะสามารถเรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่ได้ดังนี้
1.ตัวอักขระ(Character)เช่น ตัวอักษร ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์
2.เขตข้อมูล(Field) หรือ รายการ(Item)คือการนำอักขระมาเรียงกันจนมีความหมาย เช่น คำ,ชื่อ,นามสกุล
3.ระเบียน(Record)คือ กลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน 
4.แฟ้มข้อมูล(File)คือ การนำเรคคอร์ดชนิดเดียวกันมารวมไว้ด้วยกัน เช่น แฟ้มข้อมูลสินค้าในการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น
-แฟ้มข้อมูลหลัก(Master file)คือ แฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลถาวร โดยปกติมักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
-แฟ้มรายการ(Transaction file)คือ แฟ้มข้อมูลที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของแฟ้มข้อมูลหลัก เก็บเป็นรายย่อยๆ


บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cable)
ข้อดี
· ราคาถูก
· มีน้ำหนักเบา
· ง่ายต่อการใช้งาน
ข้อเสีย
. มีความเร็วจำกัด
· ใช้กับระยะทางสั้นๆ

สายโคแอกเชียล (Coaxial)
ข้อดี
· เชื่อมต่อได้ในระยะไกล
· ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย
· มีราคาแพง
· สายมีขนาดใหญ่
· ติดตั้งยาก

สายใยแก้วนำแสง(Optic Fiber)
ข้อดี
· มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา
· มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูล
· มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
· เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
· มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
· การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

ข้อดี-ข้อเสีย ของการสื่อสารด้วยดาวเทียม
ข้อดี
การส่งข้อมูลหรือการส่งสัญญาณแบบดาวเทียมจะสามารถรับ-ส่ง ข้อมูลได้เร็ว สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร และสามารถส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกล
ข้อเสีย
การส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมก็คือระบบดาวเทียมนั้น คล้ายกับไมโครเวฟ คือ อาจจะ ถูกกระทบโดยสภาพอากาศ ดังนั้น มีการล่าช้าของสัญญาณในการส่งข้อมูลแต่ละช่วง ดังนั้นการเชื่อมโยงข้อมูล จัดการกับปัญหาความล่าช้า สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณ ภาคพื้นอื่น ๆ ได้ อีก ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลง ของสัญญาณ และที่สำคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมา

ข้อดี-ข้อเสียของระบบไมโครเวฟ (Microwave System)
ข้อดี
สัญญาณคลื่นความถี่ประมาณ 100 เมกะเฮิรตซ์ เดินทางเป็นเส้นตรง ทำให้สามารถปรับทิศทางการส่งได้แน่นอน การบีบสัญญาณส่งให้เป็นลำแคบ ๆ จะทำให้มีพลังงานสูง สัญญาณรบกวนต่ำ การปรับจานรับและจานส่งสัญญาณให้ตรงกันพอดี จะทำให้สามารถส่งสัญญาณได้หลายความถี่ไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยไม่รบกวนกัน
ข้อเสีย
คลื่นไมโครเวฟไม่สามารถเดินผ่านวัตถุที่กีดขวางได้ สัญญาณอาจเกิดการหักเหในระหว่างเดินทางทำให้มาถึงจาน
รับสัญญาณช้ากว่าปกติและสัญญาณบางส่วนอาจสูญหายได้ เรียกว่าเกิด
“multipath fading”

PAN และ SAN คืออะไร จงอธิบาย
PAN(Personal Area Network)คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล"ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps)ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น•Ultra Wide Band(UWB)ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a•Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1•Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals)ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal)ได้ด้วยPersonal Area Network(PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลาย
SAN =(Storage Area Network)เป็นเทคโนโลยีเพื่อช่วยเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเข้ามาแทนที่การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรงอย่าง Direct Attached Storage(DAS)ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง เช่น ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล หรือ พื้นที่จัดเก็บ ให้เกิดความยืดหยุ่นในการเข้าถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมากกว่า โดยมีพื้นฐานมาจากมาตรฐานเปิดเน็ตเวิร์กโปรโตคอล
ปัจจุบันการต่อเชื่อมของ SAN จะมี 2 รูปแบบ หรือ 2 Protocol คือ Fibre Channel Protocol และ iSCSI
-FC จะเป็นการต่อเชื่อมโดยใช้สายไฟเบอร์ในการเชื่อมต่อและจะต้องมี SAN Switch โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 4Gbps และ 8Gbps รวมถึงต้องมี interface card ที่เรียกว่า Host Bus Adapter(HBA)
-iSCSI จะเชื่อมต่อโดยใช้สาย LAN(RJ45)สามารถใช้ Network Switch เดิมที่มีอยู่ได้เลย ความเร็วขึ้นอยู่กับ network ที่ใช้ว่าเป็น 1Gbps หรือ 10Gbps โดยสามารถใช้ LAN Card เดิมที่มีอยู่ก็สามารถใช้งานได้ โดยจะต้องลง software iSCSI initiator (จะใช้ความสามารถของ CPU และ memory ของ server ในการประมวลผล)